วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

สุดยอด 10 ผลไม้ไทยมีสารต้านมะเร็ง

สุดยอด 10 ผลไม้ไทยมีสารต้านมะเร็ง


อุดมวิตามิน-เบต้าแคโรทีนสูง

 
          
       กรมอนามัยวิจัย 10 ผลไม้ไทย มีสารต้านมะเร็งสูง นางนัทยา จงใจเทศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการทำวิจัย องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้ ที่ทำการศึกษาในผลไม้ 83 ชนิด พบว่า ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูง คือ

           1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก

           2. มะเขือเทศราชินี

           3. มะละกอสุก

           4. กล้วยไข่

           5. มะม่วงยายกล่ำ

           6. มะปรางหวาน

           7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง

           8. มะยงชิด

           9. มะม่วงเขียวเสวยสุก

           10. สับปะรดภูเก็ต

           ส่วน 10 อันดับแรกของผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง คือ ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งไร้เม็ด มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะโรงเรียน ลูกพลับ สตรอเบอร์รี่ มะละกอสุก ส้มโอขาว แตงกวา และพุทราแอปเปิล

           การศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรก คือ ขนุนหนัง มะขามเทศ มะม่วงเขียวเสวยดิบ มะเขือเทศราชินี มะม่วงเขียวเสวยสุก มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะม่วงยายกล่ำ แก้วมังกรเนื้อสีชมพู สตอเบอร์รี่ และกล้วยไข่

           ผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีน้อยทั้ง 3 ตัว คือ สาลี่ องุ่น และแอปเปิล ส่วนผลไม้ที่มีสารทั้ง 3 ตัว ค่อนข้างสูงคือ มะเขือเทศราชินี ทั้งนี้ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและอี เป็นกลุ่มของอาหารสารที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ที่ก่อให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ทำลายเนื้อเยื่อ เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด





ที่มา: ไอ.เอ็น.เอ็น.

ขนมไทย



       ขนมไทย  เป็นขนมหวานของไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  ถือเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติซึ่งอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน  ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานเท่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล  งานประเพณี  งานประเพณี  งานทางศาสนา  หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ  แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวันหลังสำรับคาวหวาน  หรือกินเป็นของว่าง  ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น  รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมืองก็ถูกดัดแปลงให้มีรูปรสลักษณะเป็นแบบไทยๆ  จนบางที่คนนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี  แต่แท้ที่จริงแล้วขนมไทยแท้ๆนั้น  จะมีส่วนประกอบเพียงสามอย่าง  คือ  แป้ง  น้ำตาล  มะพร้าว  โดยการทำขนมไทยนี้เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของคนไทยในเรื่องความอดทน  ใจเย็น  ละเอียดลออ  และช่างสังเกต ทั้งยังได้แฝงความหมายอันลึกซึ้งไว้ในชื่อของขนมไทยแต่ละอีกชนิดด้วย
ขนมทองหยิบ  ทองหยอด  ทองพลู  ทองโปร่ง  ทองม้วน  ทองเอก  เป็นขนมมงคล  เชื่อกันว่าจะมีเงินทองใช้อย่างล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น
     มีในงานมงคลต่างๆ  ให้ความหมายว่า  ทำกิจการใดก็จะมีคนคอยสนับสนุน  ค้ำจุน  ช่วยเหลือไม่มีวันตกต่ำ    ขนมเม็ดขนุน
        ขนมชั้น  นิยมทำในงานฉลองยศ  เพราะหมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์  คนไทยในสมัยโบราณทำขนมถึง  9  ชั้น  ถือเคล็ดกันว่าจะได้ก้าวหน้า
     เป็นขนมที่นิยมทำกันในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทย  เนื่องต้องอาศัยหลายแรงมาช่วยกันกวนขนม  จึงถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยมิตรไมตรี  อันจะเป็นความดีงามในชีวิตภายภาคหน้าสืบต่อไป     ข้าวเหนียวแดง  กาละแม
 ขนมข้าวเหนียวแก้ว  หากมีขนมนี้ใช้ในงานมงคลใดๆชีวิตก็จะมีความเหนียวแน่น  เป็นปึกแผ่นมั่นคง
        ขนมฝอยทอง  หากใช้ในงานแต่งงาน  ถือเคล็ดกันว่า  ห้ามตัดให้สั้นต้องปล่อยให้ยืดยาวอย่างนั้น  เพราะคู่บ่าวสาวจะได้รักกันยืนยาวและครองคู่อยู่ด้วยกันตลอดไป
        ขนมจ่ามงกุฎ  นิยมทำกันในงานฉลองยศ  ฉลองตำแหน่ง  เพราะมีความหมายว่าจะมีลาภยศอันสูงส่ง  เป็นนิมิตหมายอันดีในหน้าที่การงานสืบไป
        ขนมเทียนหรือขนมนมสาว  ให้ความหมายถึงความสว่างไสว  ความรุ่งโรจน์ของชีวิต
        ขนมพอง  ขนมลา  ขนมไข่ปลา  ขนมดีซำ  เป็นขนมที่ใช้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ  ทำกันในงานเทศกาลสารทของชาวใต้  มีความหมายต่างกันไป  เช่น  ขนมพองแทนพาหนะ  ขนมลาแทนเครื่องนุ่งห่ม  ขนมไข่ปลาแทนเครื่องประดับ  ขนมดีซำใช้ต่างแหวน  กำไล  เป็นต้น
ข้าวต้มมัด  มีในงานตักบาตรเทโว  เล่ากันว่าเกิดจากชาวเมืองไปคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้า  แล้วจะทำบุญตักบาตรด้วยข้าวต้มมัดเพราะเป้นของสะดวกและกินง่าย  ส่วนข้าวต้มลูกโยน  บ้างก็ว่าชาวบ้านที่ไปเบียดเสียดต้องการจะตักบาตรแต่เข้าไปไม่ถึง  องค์พระพุทธเจ้าจึงต้องใช้วิธีโยนข้าวต้มนี้เอา
        ขนมถ้วยฟู  ขนมปุยฝ้าย  มีความหมายว่าความรุ่งเรืองความเฟื่องฟูของชีวิต
        ขนมโพรงแสม  เป็นขนมแต่งงานที่เก่าแก่และมีมานานชนิดหนึ่ง  โบราณท่านเปรียบขนมนี้ว่า  เสมือนเสาบ้านที่คูบ่าวสาวจะอยู่กันได้ยั่งยืนตลอดไป

ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

 ดอกไม้ในวรรณคดี   ดอกโมกหลวง
           แล้วลดเลี้ยวเที่ยวไปบันไดอิฐ                 ต่างเพลินพิศเพิงผารุกขาเข้า
        จิกจันทน์แจงแทงทวยกรวยกันเกรา           โมกแมงเม่าไม้งอกซอกศิลา
                                                                                         นิราศเมืองเพชร : สุนทรภู่


 
            โมกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลดำ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆ  สีขาวประทั่วต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้นไม่เป็นระเบียบใบเป็นใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบ เป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ลักษณะดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้อนดิน มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกจะออกมาเป็นคู่ ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่เป็นจำนวนมาก ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร
            คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์เพราะโมกหรือโมกขหมายถึงผู้ที่ หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง สำหรับส่วนของดอกก็มีลักษณะ สีขาว สะอาด มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดวัน นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครอง ปกป้องภัยอันตรายเพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้นพุทธรักษาดังนั้นเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้ง
ปวงจากภายนอกได้เช่นกัน และยังเชื่ออีกว่าส่วนของเปลือกต้นโมกสามารถใช้ป้องกันอิทธิฤทธิ์ของพิษสัตว์ต่างๆได้


ขอบคุณขอบมูล จากเวปwww.maipradabonline.com/maimongkol/mok.htm

ขอบคุณภาพสวยจากบลีอก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=filmgus&month=03-2008&date=08&group=5&gblog=37